วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

ให้นักศึกษา ไปค้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3 โปรแกรม ต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างที่เกิดจากงานโปรแกรมนั้นๆมาด้วย

 1.ซอฟต์แวร์ตาตารางทำงานการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขของผู้ใช้ ด้วยการสร้างเป็นรูปแบบจำลองในลักษณะของสูตรคำนวณและสมการทางคณิตศาสตร์ มักมีการขีดเขียน คำนวณ และจดบันทึกลงในกระดาษ โดยมีเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณ การคำนวณตามงานที่ออกแบบหรือการค้นหาคำตอบของรูปแบบจำลองสมการที่สร้างขึ้นนับเป็นงานที่น่าเบื่อและต้องใช้ความอดทนมากพอสมควรเพราะผู้ใช้จะต้องทำการคำนวณใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆ ครั้งตามการแปรเปลี่ยนอย่างไม่หยุดนิ่งขององค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญของงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานนั้นเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินด้วยแล้ว การคำนวณต่างๆ ก็ต้องยิ่งระมัดระวังให้มีการตรวจทานเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและแม่นยำซอฟต์แวร์สำเร็จตารางทำงาน หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือช่วยเพื่อการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขให้กับผู้ใช้ได้อย่างดี เพราะการใช้งานซอฟต์แวร์นี้ จะเปรียบเหมือนกับการนั่งทำงานอยู่บนโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมของช่องตามแนวแถวและสดมภ์จำนวนมากมายปรากฏบนจอภาพ โดยแต่ละช่องบนตารางทำงานภายในซอฟต์แวร์ตารางทำงานจะมีฟังก์ชันต่างๆ จัดมาให้เลือกใช้เรียบร้อยแล้ว เช่น ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ ฯลฯ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เปรียบได้กับเครื่องคิดเลขที่วางบนโต๊ะทำงาน ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจากช่องต่างๆ บนตารางเป็นตัวแปรของฟังก์ชันหรือสูตรคำนวณ เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ออกมา และนำไปใช้ในการคำนวณของช่องอื่นๆ ต่อไปได้อีกข้อมูลในช่องต่างๆ บนตารางทำงานสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยง่ายด้วย การสั่งงานตามคำสั่งที่ปรากฏบนรายเมนุ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้เปรียบได้กับการมียางลบที่ทำการลบ แล้วบันทึกค่าลงไปใหม่ ถ้าตารางทำงานนี้ไม่ถูกต้องใช้งานไม่ได้ ผู้ใช้อาจลบทั้งตารางและสร้างใหม่เหมือนการขยำกระดาษโยนใส่ถังขยะทิ้งไป แต่ถ้าตารางทำงานนี้ใช้งานได้ดีแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถทำการบันทึกข้อมูลไว้ในแผ่นบันทึกเพื่อนำมารใช้งานใหม่ภายหลัง
ขีดความสามารถพิเศษของตารางทำงานมีมากมาย เช่น สามารถแสดงรายงานต่างๆ ในรูปแบบที่สวยงาม พิมพ์เป็นกราฟิกภาพ หรือการแสดงผลอื่นๆ


2. ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบัน ข้อมูลที่มีจำนวนมากจะต้องมีการจัดเก็บและเรียกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การรวบรวมและเก็บข้อมูลไว้ด้วยกันจะช่วยไห้การเรียกค้นเพิ่มเติมหรือเปลี่ยน แปลงทำได้ง่าย ซึ่งการรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันนี้เรียกว่า ฐานข้อมูล ประโยชน์ของการใช้ฐานข้อมูลจะช่วยไห้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ช่วยหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะเกิดขึ้น ช่วยขจัดความขัดแย้งของข้อมูลและสามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ง่าย เป็นต้น ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลช่วยให้ผู้ใช้ดำเนินการจัดการฐานข้อมูลได้ง่าย และมีไห้เลือกใช้ได้หลายซอฟต์แวร์ โดยเน้นผู้ให้ผู้ใช้สามารถสร้างแฟ้มข้อมูล ช่วยในการจัดเก็บ การขอดู การเรียกค้น การเพิ่มเติม การลบ การจัดเรียง และการทำรายงาน  การจัดเก็บข้อมูลภายใต้การทำงานของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นเรื่องทางเทคนิคภายในที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใช้งานฐานข้อมูลทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเข้าใจ เพราะซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะดำเนินการไห้เอง นอกจากนี้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลยังสามารถควบคุมความถูกต้องของข้อมูลใน ฐานข้อมูล ข้อมูลที่ปรากฏในฐานข้อมูลจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ความถูกต้องเช่น เมื่อกำหนดว่าพนักงานของบริษัทแต่ละคนจะทำงานได้เพียงแผนกเดียว พนักงานนั้นจะมีชื่อไปปรากฏสังกัดแผนกอื่นไม่ได้ หรืออายุของพนักงานจะมีค่ามากกว่า 100 ปี ไม่ได้ เป็นต้นนอกจากนี้ความถูกต้องของข้อมูลจะรวมถึงว่าข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องสอดคล้องหรือไม่เกิดการขัดแย้งกัน เช่น วันเกิดของพนักงานที่แสดงไว้ในที่ต่าง ๆ จะต้องบันทึกไว้ตรงกันซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะต้องมีคำสั่งซึ่งอาจเลือกได้จากเมนูรายการคำสั่งเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการควบคุมการทำงานเมื่อมีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมความถูกต้องให้กับผู้ใช้
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีมากมายหลายโปรแกรม  ส่วนใหญ่เน้นการใช้งานที่ง่าย และใช้งานในระดับตั้งแต่ผู้ใช้คนเดียว หรือ เชื่อมโยงเป็นกลุ่ม ตลอดจนเชื่อมต่อฐานข้อมูลอื่น ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่รู้จักกันดี ได้แก่ แอกเซส ออราเคิล อินฟอร์มิกซ์ มายเอสคิวแอล เป็นต้น
3. ซอฟต์แวร์นำเสนอ
การนำเสนอข้อมูลตัวเลข โดยปกติจะอยู่ในรูปของตารางเป็นแถวและสดมภ์ ซึ่งไม่ใช่วิธีนำเสนอข้อมูลที่ดี เพราะการนำเสนอข้อมูลในรูปตารางไม่ดึงดูดความสนใจ และตีความข้อมูลตัวเลขได้ลำบาก ไม่สมบูรณ์ การแปลงข้อมูลตัวเลขให้อยู่ในรูปภาพและแผนภูมิจะเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง เพราะการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีนี้จะดึงดูดความสนใจ สื่อความหมายได้กระจ่างชัด และเข้าใจง่ายในปัจจุบันนิยมนำข้อมูลมาเขียนเป็นแผนภูมิหรือนำข้อมูลมาวิเคราะห์คำนวณตัวเลขทางสถิติ ได้ข้อมูลตัวเลขชุดใหม่แล้วจึงค่อยนำมาสร้างเป็นแผนภูมิ  ซึ่งแผนภูมิที่ได้นี้ จะนำไปเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อใช้วางแผนและตัดสินใจ หรืออาจใช้เพื่อนำเสนอบุคคลทั่วไป เพื่อการประชาสัมพันธ์ แผนภูมิทางธุรกิจเพื่อการนำเสนอมักมีการจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เพราะจะต้องให้เข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจผู้พบเห็นปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ด้านการนำเสนอให้เลือกใช้มาก ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้มักจะเน้นการใช้งานที่ง่ายและสะดวก มีชนิดของแผนภูมิให้เลือกใช้หลายแบบตามความเหมาะสมของข้อมูล การปรับแต่งและจัดรูปแบบแผนภูมิใหม่สามารถทำได้ง่ายด้วยคำสั่งเพียง 1 หรือ 2 คำสั่ง นอกจากนี้ยังสามารถโอนย้ายข้อมูลจากซอฟต์แวร์สำเร็จอื่น เช่น จากระบบฐานข้อมูลและตารางทำงานมาแสดงแผนภูมิได้ด้วยแผนภูมิที่ได้จากซอฟต์แวร์สำเร็จข้างต้นให้ผลของภาพชัดเจนและละเอียดไม่แพ้ภาพของแผนกศิลป์ การสร้างปรับแต่งภาพก็สามารถทำได้รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถเก็บภาพที่ได้ใส่ไว้ในแผ่นบันทึกในรูปของแฟ้มข้อมูลและนำผลออกทางเครื่องพิมพ์ เครื่องวาดรูป หรือออกเป็นภาพสไลด์ก็ได้ซอฟต์แวร์ด้านการนำเสนอ แบ่งได้หลายประเภทของการใช้งาน เช่น ทางธุรกิจ ทางการออกแบบ ซอฟต์แวร์การนำเสนอเชิงธุรกิจจะช่วยในงานด้านวิเคราะห์และเสนอข้อมูลในรูปของแผนภูมิ โดยสามารถปรับแต่งรูปแผนภูมิให้สวยงามเพื่อนำเสนอและจูงใจผู้ชม
โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์ด้านนี้จะสามารถสร้างแผนภูมิหลักที่สำคัญต่อไปนี้ได้คือ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งซ้อน แผนภูมิแท่งเหลื่อมทับ แผนภูมิวงกลม แผนภูมิวงกลมแยกส่วน กราฟเส้นตรง แผนภูมิกระจัดกระจาย แผนภูมิพื้นที่ และแผนภูมิสูงต่ำในการปรับแต่งรูปแผนภูมิ สามารถกำหนดข้อความ หัวเรื่อง สามารถเลือกขนาดและชุดแบบอักษร เลือกสีหรือแถบระบายของแท่งหรือชิ้นส่วนแผนภูมิ และแทรกภาพสัญลักษณ์เข้ารวมในรูปแผนภูมิ นอกจากนี้ในการรับข้อมูลเข้า สามารถเลือกรับจากแผงแป้นอักขระ จากแฟ้มข้อมูล หรือจากโปรแกรมสำเร็จอื่น เช่น รับแฟ้มตารางทำงานมาปรับแต่งแผนภูมิให้ดีขึ้นได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งานนำเสนอเชิงธุรกิจอีกด้วย


http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=94&Itemid=113

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบ
อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป


  • ระบบการสอนวิชา พลศึกษา
  • Input

หลักการสอนพลศึกษา
                สำหรับการสอนวิชาพลศึกษานั้นมีความมุ่งหมายเฉพาะที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัด ดังต่อไปนี้
1.       เพื่อให้มีสมรรถภาพและสุขภาพของร่างกายดีขึ้น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ นับว่า
สำคัญและเป็นหัวใจของการสอนพลศึกษาเพราะการศึกษาแขนงอื่นมีส่วนบกพร่องทางด้านนี้ วิชาพลศึกษาเท่านั้นมีบทบาทที่จะเสริมสมรรถภาพ
2.       เพื่อให้มีทักษะในกิจกรรมทางด้านพลศึกษาและสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากวิชาพลศึกษาอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายเป็นสื่อ ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องสร้างทักษะเสียก่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้นำทักษะอันเป็นพื้นฐานของกิจกรรมไปใช้
3.       ให้มีความรู้ความเช้าใจในด้านต่าง ๆ เป็นต้นว่า ความรู้ความด้านคุณค่าของวิชา
พลศึกษาประโยชน์ของกิจกรรมประเภทต่าง ๆ
4.       เพื่อให้มีคุณลักษณะต่าง ๆ ประจำตัว คุณลักษณะดังกล่าวนี้ครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน
ซึ่งเชื่อว่ากิจกรรมทางพลศึกษาจะมีส่วนช่วยและส่งเสริมได้
5.       เพื่อให้มีสุขนิสัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยทั่วไปแล้วถือว่าวิชา
พลศึกษาเป็นวิชาสุขศึกษาภาคปฏิบัติ เพราะในการเรียนวิชาพลศึกษาต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นหลัก ฉะนั้นการสอนวิชาพลศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องสุขนิสัยด้วย

  • Process
วิธีการสอนแบบต่าง ๆ
1.การสอนแบบสั่งการ (Teaching by command)
                การสอนแบบสั่งการ เป็นแบบการสอนที่มีความสามารถที่จะให้ผู้เรียนไปถึง
จุดมุ่งหมายที่น้อยที่สุดหรือต่ำสุด เมื่อเทียบกับวิธีสอนแบบอื่น ๆ แต่ก็ยังเป็นแบบที่เราใช้มากที่สุดในการสอนวิชาพลศึกษาในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าห้องเรียนหนึ่ง ๆ มีนักเรียนมากเกินไปนั่นเอง การสอนแบบสั่งการนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นแบบวิธีสอนที่เป็นพื้นฐานและโครงสร้างของวิธีสอนแบบอื่น ๆที่ใช้กันอยู่เป็นประจำในปัจจุบันนี้ด้วย
2. การสอนแบบมอบงานให้ทำ (Teaching by Task)
                การสอบแบบมอบงานให้ทำ มีความแตกต่างกับการสอนแบบสั่งการ คือ การ
สอนแบบสั่งการนั้นทุกสิ่งอย่างจะขึ้นอยู่กับครูสอนเพียงคนเดียว เด็กไม่มีอิสระในการฝึกกิจกรรม แต่การสอนแบบมอบงานให้ทำนี้เด็กจะมีอิสระในการฝึกกิจกรรมของเขามากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการสอนลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็นการสอนที่คล้ายคลึงกับการสอนแบบสั่งการ คือสั่งให้เด็กไปทำ การทำนั้นก็คือสิ่งที่ครูมอบและกำหนดให้ ซึ่งถือว่าเป็นงานในเนื้อหาวิชาที่กำหนดโดยเด็กจะรู้ว่าเขาจะเริ่มเมื่อไร และจะหยุดเมื่อไร
                ถึงอย่างไรก็ตาม การมอบหมายงานให้เด็กไปฝึกหรือกระทำนั้น ก็คงอยู่ในความควบคุมของครูแต่ครูจะมีเวลาได้พักไม่ต้องเหนื่อยมากเหมือนการสอนแบบสั่งการซึ่งครูจะต้องอยู่หรือคอยควบคุมเด็กตลอดเวลา การสอนแบบมอบงานให้ทำจะเปิดโอกาสให้เด็กกับครูมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เด็กมีโอกาสจะพัฒนาตัวของเขาอย่างอิสระมากขึ้นกว่าการสอนแบบสั่งการ
3. การสอนแบบจับคู่ (Reciprocal Teaching)
                การสอนแบบจับคู่ เป็นแบบการสอนที่เด็กจะมีอิสระและเป็นตัวของตัวเองมากกว่าการสอนแบบสั่งการ และแบบมอบงานให้ทำ การสอนแบบนี้ครูจะมีบทบาทเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องการวัดผล และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนก็มีมากขึ้นด้วย

4.  การสอนแบบแบ่งเป็นกลุ่มย่อย  (Use of Small Group)
                การสอนแบบแบ่งเป็นกลุ่มน้อย ก็คล้ายกับวิธีสอนแบบจับคู่ แต่การสอนแบบกลุ่มน้อยมีเพียงมากขึ้นมากกว่าแบบจับคู่ ก็คือ มีผู้สังเกตและผู้บันทึกการสอนแบบเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีประโยชน์มากในกรณีที่อุปกรณ์ และเครื่องมือ มีจำนวนจำกัด  การแบ่งกลุ่มย่อย มักจะแบ่งเป็นกลุ่มละ 3-4 คน (บางกรณีอาจจะมากกว่านี้)

5. การสอนเป็นรายบุคคล  (The Individual program)
                หัวใจสำคัญในการสอนก็คือ การเรียนเป็นรายบุคคล เพราะในการแสวงหาความรู้และการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของแต่ละคน จะเรียนแทนกันไม่ได้ การจัดโปรแกรมในการสอนจะต้องมีเนื้อหาวิชามากพอที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ทดลอง หรือเลือก และเร้าใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน

6. การสอนโดยวิธีแนะแนวให้ค้นคว้า(Guide Discovery)
                การสอนแบบแนะแนวให้เกิดการค้นคว้า เป็นวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนได้ประกอบพิจารณา
อันจะก่อให้เกิดความ งอกงามทางด้านสติปัญญา เมื่อพูดถึงกิจกรรมอันจะก่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญานั้นกินความหมายมาก ซึ่งต่างกับกิจกรรมอื่น ๆ นักจิตวิทยาและนักวิจัยที่มีชื่อเสียงได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ว่ากิจกรรมี่จะก่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญานั้นคือ กิจกรรม ซึ่งจะทำให้ผู้กระทำมีความสามารถในสิ่งต่อไปนี้คือ

1.       ความสามารถในการถาม
2.       ความสามารถในการเปรียบเทียบ
3.       ความสามารถในการสรุปความหรือลงความเห็นจากการเปรียบเทียบจากของสองสิ่งหรือหลายสิ่ง
4.       ความสามารถในการตัดสินใจ
5.       มีความสามารถในการใช้กลวิธีต่าง ๆ เข้าช่วยในการแก้ปัญหา
6.       มีความสามารถในการคิดประดิษฐ์
7.       มีความสามารถในการค้นคว้า
8.       มีความสามารถในการตอบโต้

  • Output
ข้อแนะนำในการสอนวิชาพลศึกษา
1.       ในการศึกษาแผนใหม่ถือว่าวิชาพลศึกษามีส่วนช่วยในการพัฒนานักเรียนใน
ทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพและสมรรถภาพของร่างกายได้เป็นอย่างดียิ่ง
2.       การจัดกิจกรรมพลศึกษาที่หนัก เหมาะสมกับสภาพของร่างกายของเด็กแต่ละ
คนเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายที่ดี เมื่อนักเรียนเริ่มมีการพัฒนาทางด้านความ
แข็งแรงความอดทนและทักษะแล้วก็จะมีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หนัก ๆ และสูง ๆ ต่อไปอีก
ความหนักและความยากของกิจกรรม ความเพิ่มขึ้นตามลำดับและความเหมาะสม นักเรียนแต่ละคน
ต้องการความหนักเบาของกิจกรรมแตกต่างกัน
3.       สิ่งที่เด็กหวังจะได้รับในระหว่างมีส่วนร่วมอาจจะแตกต่างกัน เช่น คนหนึ่ง
อาจมีส่วนร่วมเพื่อผลทางสุขภาพอีกคนหนึ่งอาจมีส่วนร่วมเพื่อคามสนุกสนาน หรืออีกคนหนึ่งต้องการทั้งสองอย่างดังกล่าวแล้วก็ได้
4.       ผลที่จะได้รับจากการสอนพลศึกษาไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยบังเอิญ
การสอนที่จะให้ได้รับผลดีนั้น การสอนวิชาพลศึกษาก็เช่นเดียวกับวิชาอื่น ๆ คือจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวนักเรียนมีความรักนักเรียน และได้มีการเตรียมบทเรียนตามความเหมาะสมกับนักเรียนไว้ล่วงหน้า
5.       นักเรียนที่อยู่ในชั้นเดียวกันจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวุฒิภาวะ
(Maturity) ความสามารถและความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ประโยชน์ที่นักเรียนจะได้จากการสอนวิชาพลศึกษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ ๆ ดังกล่าวแล้วนี้ด้วย
6.    นักเรียนทุกคนจะมีการพัฒนาดีที่สุดและมีความสุขในชีวิตมากที่สุด ก็ต่อเมื่อได้มีความพอใจสบายใจในประสบการณ์ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
พลศึกษา
7.       ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนชายและหญิงมีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรม
เดียวกันด้วยกัน เป็นบางครั้งบางคราวถ้ามีโอกาส
8.       นักเรียนต้องการทราบในความสามารถของตนเองในกิจกรรมต่าง ๆ และ
อยากทราบว่าเท่าที่เรียนมาตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง
9.       นักเรียนทุก ๆ คนได้รับประโยชน์จากการพลศึกษาทั้งนั้น แต่กิจกรรมต่าง ๆ
 สำหรับนักเรียนแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน นักเรียนส่วนใหญ่อาจจะสามารถมีส่วนร่วมได้ทุก
กิจกรรม แต่บางคนอาจจะต้องการเฉพาะกิจกรรมที่ง่าย ๆ และเบาๆ
10.   ถ้าติดตามสังเกตนักรเยนแต่ละคนเป็นประจำโดยสม่ำเสมอจะทำให้เรา
สามารถทราบข้อบกพร่องและความต้องการช่วยเหลือของนักเรียนได้
11.   นักเรียนแต่ละคนต้องการรู้ เข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ เช่น การเดิน วิ่ง
 กระโดด รับ-ส่งลูกที่ถูกต้อง
12.   ส่วนประกอบที่สำคัญของการมีสุขภาพดีของนักเรียนคือ การรับประทาน
อาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ
13.   สถานที่สอนพลศึกษาในร่มและกลางแจ้งคือ ห้องเรียนและห้อง Lab ของวิชา
พลศึกษา
14.   อุปกรณ์การสอน เช่น ลูกบอล เบาะ และอื่น  ๆ ก็คือปากกา สมุด หนังสือ
สำหรับการสอนวิชาพลศึกษามีความจำเป็นและสำคัญต่อการสอนพลศึกษา เช่นเดียวกับการสอนวิชาอื่นๆ
15.   เวลาสำหรับเตรียมการสอน ตารางสอนที่ยืดหยุ่นได้พอสมควร ชั้นที่ไม่มี
นักเรียนมากเกินไปและชั่วโมงการสอนของครูไม่มากเกินไป เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ และจำเป็นที่จะทำให้การเรียนได้ผลดี
16.   โปรแกรมการสอนพลศึกษาจะต้องวางตามลำดับจากง่ายไปยาก หรือสอนให้
มีความคืบหน้าไปตามลำดับ




วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2

การผลิตน้ำตาลทราย จัดว่าเป็น system หรือไม่

การผลิตน้ำตาลทรายจัดได้ว่าเป็น System เพราะเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีทั้งการ 

นำเข้า ( Input ) ประมวลผล ( Process ) แล้วและ นำออก ( Output )

โดยอย่างแรกคือการนำเข้า ( Input ) 
1.การนำอ้อยมาปลูก
2.การดูแลรดน้ำอ้อย
3.เก็บเกี่ยวอ้อยเมื่อโตเต็มที่แล้ว
4.การนำอ้อยที่เก็บเกี่ยวไปส่งในโรงงาน
      กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ

1.
กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.
การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
(Juice Purification) :
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.
การต้ม (Evaporation) :
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.
การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ



กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้


1.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.
การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.
การอบ (Drying) :
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย

http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.htm